0
พื้นที่
ตำบลโพธิ์ทองมีเนื้อที่ประมาณ 17,494 ไร่ ( 27.99 ล้าน ตารางกิโลเมตร )
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลไทรบุรีและตำบลท่าสาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโมคลาน / ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลาและตำบลปากพูน อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหัวตะพาน / ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. ที่ราบลุ่มระหว่างสันทราย เป็นพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันออก ของแนวถนนท่าศาลา- บ้านอู่ตะเภา เป็นพื้นที่สันทรายสลับกับที่ลุ่มเป็นแนวยาวในทางทิศเหนือ-ทิศใต้ พื้นที่ลุ่มระหว่างสันทรายมักจะเป็นที่ลุ่มมีน้ำขังตลอดปี มีลักษณะเป็นน้ำกร่อย มีพืชพรรณตามธรรมชาติ เช่น เสม็ด กก หญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่ บางบริเวณได้ถูกดัดแปลงใช้ทำนาข้าว
2. พื้นที่สันทราย จะเป็นพื้นที่ขนานกับถนนสายท่าศาลา-บ้านอู่ตะเภา ตลอดสาย ทั้งทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของถนน กว้างเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลเมตร บนสันทรายมักจะเป็นพื้นที่ตั้งของหมู่บ้าน สวนมะพร้าวหรือสวนผลไม้
3. พื้นที่ราบและบริเวณที่ลุ่ม อยู่ทางทิศตะวันตกของตำบลเป็นบริเวณที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ลักษณะทั่วไปจะเป็นดินลึก มีพื้นที่ดินเป็นดินเหนียว หรือร่วนเหนียวปนทราย มีการระบายน้ำเร็ว หน้าฝนจะมีน้ำขังอยู่บนพื้นดิน มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางจนถึงสูง เป็นบริเวณทำนาข้าวของตำบลและดินเหนียวเหมาะแก่การปั้นอิฐ
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของพื้นที่ตำบลโพธิ์ทอง จัดเป็นเขตอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองฝั่ง คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.5 องศาเซลเซียส
สำหรับฤดูกาลของพื้นที่ จำแนกออกเป็น 2 ฤดู คือ
- ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมกราคม โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน จะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงนี้ฝนตกไม่มากนัก เนื่องจากมีเทือกเขาบรรทัดปะทะไว้ สำหรับในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักกว่าช่วงแรกบางครั้ง จะได้รับอิทธิพลจากพายุที่ก่อตัวจากทะเลจีนใต้ ปริมาณฝนมากที่สุด คือ เดือนพฤศจิกายน
- ฤดูแล้ง
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ในช่วงนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะมีฝนตกบ้างในช่วงนี้แต่น้อยมาก อากาศโดยทั่วไปร้อนชื้น อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 38.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม และปริมาณฝนแล้งที่สุดในเดือนมีนาคมเช่นกัน
ทรัพยากรธรรมชาติ
ตำบลโพธิ์ทองมีพื้นที่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งทางทิศตะวันตกเป็นดินเหนียวเหมาะสำหรับการทำนาข้าว มีแหล่งน้ำขนาดเล็กสำหรับการวางไข่ของสัตว์น้ำตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งดินเหนียวชนิดดี เหมาะสำหรับใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาและอิฐมอญ ส่วนสันทรายทางตอนกลางเหมาะสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น มะพร้าว พืชผักผลไม้ และพื้นที่ราบลุ่มทางทิศตะวันออกเหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย เช่น กุ้งกุลาดำ เป็นต้น
จำนวนหมู่บ้าน
ตำบลโพธิ์ทอง มี 7 หมู่บ้าน 2,290 ครัวเรือน
หมู่ที่ 1 บ้านสองแพรก
จำนวนครัวเรือน 261 ครัวเรือน
ประชากร 888 คน
ชาย 470 คน
หญิง 418 คน
หมู่ที่ 2 บ้านบนถนน
จำนวนครัวเรือน 177 ครัวเรือน
ประชากร 548 คน
ชาย 279 คน
หญิง 267 คน
หมู่ที่ 3 บ้านตีนดอนเหนือ
จำนวนครัวเรือน 389 ครัวเรือน
ประชากร 1,732 คน
ชาย 853 คน
หญิง 879 คน
หมู่ที่ 4 บ้านกลาง
จำนวนครัวเรือน 397 ครัวเรือน
ประชากร 1,585 คน
ชาย 795 คน
หญิง 790 คน
หมู่ที่ 5 บ้านสี่แยกวัดโหนด
จำนวนครัวเรือน 660 ครัวเรือน
ประชากร 2,143 คน
ชาย 1,052 คน
หญิง 1,091 คน
หมู่ที่ 6 บ้านมะยิง
จำนวนครัวเรือน 194 ครัวเรือน
ประชากร 788 คน
ชาย 389 คน
หญิง 399 คน
หมู่ที่ 7 บ้านยางด้วน
จำนวนครัวเรือน 212 ครัวเรือน
ประชากร 907 คน
ชาย 443 คน
หญิง 464 คน
จำนวนประชากร
ตำบลโพธิ์ทองมีประชากรทั้งสิ้น ประมาณ 8 , 591 คน แยกเป็นชาย 4,281 คน เป็นหญิง 4,310 คน ( ข้อมูลจากฝ่ายทะเบียนและบัตร ณ วันที่ 25 เมษายน 2556 )
การท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลโพธิ์ทอง ขณะนี้กำลังดำเนินการที่น่าจะพัฒนาอยู่ 2 แห่ง คือแหล่งท่องเที่ยวที่ 1 หมู่บ้านมะยิง ซึ่งเป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งหน่วยราชการและองค์การเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 บ้านมะยิง แหล่งท่องเที่ยวที่ 2 ได้แก่ สุสานปังลิมอเจ๊ะเต๊ะ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นที่ฝังศพของแม่ทัพเมืองสตูล ที่ชื่อเจ๊ะเต๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 บ่นยางด้วน (ทุ่งรง)